มีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมโรงเบียร์ Thai Asia Pacific Brewery มาครับ บอกชื่อเต็มอย่างนี้อาจจะไม่คุ้นกัน แต่ถ้าบอกว่าเป็นโรงเบียร์ที่ผลิตเบียร์ยี่ห้อ “Heinelken” พรีเมียมเบียร์อันดับ 1 ของไทยทุกคนจะต้องอ๋อแน่นอน ตัวโรงงานอยู่ที่ถนน บางบัวทอง-สุพรรณบุรี (340) อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ถ้าไปจากทางปากเกร็ดก็เกือบๆ 30 กิโลเมตรครับ ไปสะดวกเพราะเพิ่งมีทางเปิดใหม่วิ่งต่อจากถนนชัยพฤกษ์ได้เลย
ตอนแรกก่อนที่จะมานั้นก็คิดว่าคงได้แต่เดินดูขั้นตอนการผลิต ปรากฎว่าพอมาถึงทาง TAPB เค้ามีห้องรับรองต้อนรับอยู่ด้านหน้าด้วยครับ เหมือนกับพวกโรงเบียร์ต่างประเทศที่จะมีห้องประวัติต่างๆให้ดู ระหว่างรอคณะเราก็เดินวนๆอ่านบอร์ดต่างๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับตัวโรงงานและก็เบียร์ที่ TAPB ผลิต หลักๆก็คือ 3 ยี่ห้อที่เราคุ้นเคยกันคือ Heineken, Tigers และ Cheers จากนั้นฝ่ายต้อนรับของโรงงานก็เล่าประวัติต่างๆและเปิด vdo ให้ชมครับ
ตัวโรงงานนั้น เริ่มเปิดและผลิตเบียร์ Heineken ในปี 1995 ถึงวันนี้ก็ 20 ปีพอดี โดยมี 3 กลุ่มใหญ่เป็นหุ้นส่วน คือ ไทยประกันชีวิต, Asia Pacific Brewery (Singapore) และกลุ่มไทยน้ำทิพย์ ปัจจุบันมีเบียร์อยู่ในการดูแล 5 ยี่ห้อ ผลิตที่นี่ 3 ยี่ห้อ คือ Heineken, Tigers และ Cheers และได้สิทธิ์เป็นผู้จัดจำหน่าย 2 ยี่ห้อ คือ Guinness และ Kilkenny ครับ
จากลานจอดรถ เจ้าหน้าที่จะมาเปิดประตูรั้วให้ แล้วแลกบัตร เสร็จแล้วก็จะเจอสนามหญ้าด้านหน้าครับ
อาคารต้อนรับครับ เป็นอาคารชั้นเดียว
เข้ามาก็จะเจอหม้อต้มเบียร์ขนาดใหญ่ครับ เป็นหม้อที่เคยใช้งานจริง ทาง Asia Pacific Brewery มอบให้ TAPB เป็นที่ระลึกในวันเปิดโรงงานครับ
ป้ายแสดงความยินดีจาก Asia Pacific Brewery Singapore
โลโก้ของ Thai Asia Pacific Brewery ครับ
ประวัติของเบียร์ตั้งแต่โบราณครับ
จัดแสดงอุปกรณ์ต่างๆ
ส่วนนี้พนักงานไม่ได้เล่าอะไรให้ฟังครับ
ชนิดต่างๆของแก้วเบียร์
ต่อมาเป็นบอร์ดเกี่ยวกับเบียร์ในประเทศไทย โดยเข้ามาครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนรายณ์มหาราช จนเริ่มมีการก่อตั้งโรงเบียร์ในไทยเป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 7
คือบุญรอดบริวเวอรี่ หรือ เบียร์สิงห์นั่นเอง
ปี 2504 มีโรงที่สอง เป็นของ บางกอกเบียร์ แล้วก็เปลี่ยนเจ้าของในปี 2509 เป็นไทยอมฤต 2521 ก็ซื้อคลอสเตอร์มาผลิต
โฆษณาเบียร์ในสมัยก่อน
เบียร์ไทย กำลังนิยมทั่วไป
เบียร์ตราดาว หรือ ซัปโปโร นั่นเอง
ฝั่งนึงของกำแพงเป็นการจัดแสดงกระป๋องเบียร์ต่างๆ
เคยลองทานกันกี่ยี่ห้อแล้วครับ
ขวดแบบพิเศษ ตอนงาน Sensation ที่ Heineken เป็นผู้สนับสนุนหลักครับ
ตระกูล Heineken ผู้ก่อตั้ง
เริ่มตั้งแต่ปี 1873
ติดกับ Heineken ก็เป็น Tiger เบียร์ดังอีกเจ้าจากสิงคโปร์
ผลิตครั้งแรกตั้งแต่ปี 1932 วัตถุดิบนำเข้าทั้งหมด
สุดท้ายคือ Cheers เบียร์ที่ TAPB คิดค้นขึ้นมาเองเพื่อมาชนกับตลาดล่างอย่าง ลีโอ ด้วยราคาที่สบายกระเป๋าของนักดื่ม
เบียร์เชียร์เปิดตัวในปี 2548 นอกจากจะขายในไทยแล้วก็ยังขายในประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และสิงคโปร์ด้วยครับ
เบียร์เชียร์มีขายทั้งแบบขวด กระป๋องและแบบสด นอกจากนี้ยังมี เชียร์ เอ๊กซ์ตร้า ที่แอลกอฮอล์ 6.5% ตามออกมาในปี 2551 ด้วย
อีก 2 แบรนด์ที่ TAPB เป็นผู้จัดจำหน่ายแบบสดคือ 1. Kilkenny
Kilkenny เป็นเบียร์สไตล์ Irish Cream Ale ผลิตที่โรงงานเดียวกับ Guinness ยี่ห้อนี้จะหาดื่มได้ตามผับหลายๆ ที่ เคยเห็นที่ร้าน Flann O’Brien’s
อีกแบรนด์คือ Guinness เบียร์ดำชื่อดังระดับโลก
มาจากไอร์แลนด์เช่นกัน เป็นเบียร์สไตล์ Stout ครับ
ซักพักพนักงานต้อนรับก็เปิด vdo เกี่ยวกับ TAPB และเบียร์ยี่ห้อต่างๆให้ชมครับ
อย่างในรูปนี่น่าจะเป็นโรงงาน Guinness ที่ไอร์แลนด์ครับ
ดู vdo เสร็จก็มาที่อีกห้อง มีผนังเป็น timeline ของ TAPB เริ่มต้นในปี 1995 ที่ Heineken เริ่มผลิตและจำหน่ายในไทย
ปี 2004 ก็เริ่มผลิต Tiger พอ 2005 ก็มี เชียร์ ออกมาครับ
ปี 2010 ก็เป็นตัวแทนจำหน่าย Guinness และ Kilkenny
Timeline รวม
กลางห้องนี้จะมีโมเดลจำลองโรงงานให้ดูครับ โซนด้านหน้าจะเป็นลานรถ กับสนามหญ้า มุมขวาล่างเบอร์ 1 เป็นออฟฟิศของสรรพสามิต โรงเบียร์ในไทยจะมีออฟฟิศให้เจ้าหน้าที่สรรพสามิตนั่งทำงานอยู่เลย เพราะจะเป็นคนควบคุมการเปิดปิดเครื่องจักรเพื่อผลิต เช็คปริมาณที่ผลิตเพื่อจัดเก็บภาษีครับ
เบอร์ 2 เป็น Front Office ส่วนเราอยู่ที่ อาคารขวากลาง เป็นส่วนต้อนรับครับ หลังจากบริเวณนี้จะมีรั้วรอบขอบชิด เป็นส่วนของโรงงานผลิตครับ
เบอร์ 3 ด้านล่าง เป็น Malt Silo ไว้เก็บมอลต์วัตถุดิบหลักในการผลิตเบียร์ เบอร์ 4 ติดกันเป็นห้องต้ม มีหม้อประมาณ 5-6 ใบ ใหญ่มากครับ สูงสิบเมตร กว้างซัก 2.5-3 เมตร ถามเจ้าหน้าที่ได้ความว่ากำลังการผลิตคือต้มครั้งละ 60,000 ลิตร ส่วนถังเงินๆ กลมๆนั้น เป็นถังที่หมักหลังจากต้มเสร็จ แล้วก็ไปบ่มใน เบอร์ 5. Cold Tank และส่วนขาวกลมๆ จนเมื่อครบกระบวนการก็จะส่งเข้าไลน์บรรจุครับ
เบอร์ 6 คือไลน์บรรจุ แยกไลน์ขวดและกระป๋องครับ พอเสร็จก็จะส่งไปด้านหลังเบอร์ 9 เป็นส่วนจัดการก่อนส่งจำหน่าย
ด้านหลังของโรงงานเป็นส่วนบำบัดน้ำเสีย ส่วนมุมซ้ายบนเป็นบ้านพักของพักงานและเจ้าหน้าที่สรรพสามิต
ด้านหลังของห้องมีส่วนแสดงรางวัลอยู่ครับ ในรูปเป็นรางวัลหม้อต้ม จะให้กับโรงงานที่ชนะรางวัล Heineken Quality Award
เจ้าหน้าที่บอกว่า Vietnam เป็นคู่แข่งสำคัญของ TAPB ผลัดกันชิงรางวัลเป็นประจำ
เสร็จจากห้อง Timeline ก็มาดูวิดิโออีกห้องนึง เป็นวิดิโอรวมโฆษณาของ Heineken Tiger เชียร์ แล้วก็มีวิดิโอขั้นตอนการผลิตเบียร์ ในรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิตเบียร์ มี น้ำ มอลต์ ฮอปส์ และ ยีสต์ครับ
ถังเบียร์สดของ TAPB มี 2 ขนาดคือ 20 และ 30 ลิตรครับ
ถังดับเพลิงในห้องนี้ เท่เลย
เสร็จจากห้องนี้ก็จะเป็นการพาทัวร์โรงงานของจริงละครับ แต่ทางโรงงานไม่อนุญาตให้บันทึกภาพ ก็จะขอเล่าตามที่จำๆได้ละกันครับ ห้องแรกที่ไปคือ ห้องต้ม (โมเดลเบอร์ 4) มีหม้อประมาณ 5-6 ใบ สูง 10 เมตร กว้างซัก 2.5-3 เมตร สามารถต้มได้ทีละ 60,000 ลิตร โดยทั้ง 3 ยี่ห้อ Heineken, Tiger และ Cheers ใช้อุปกรณ์ต้มชุดเดียวกันหมด อุณหภูมิประมาณ 60-79 องศาเซลซียส ใช้เวลาประมาณ 1 วันครึ่ง สำหรับความร้อนน้ันจะใช้น้ำมันเตาต้มให้น้ำกลายเป็นไอน้ำมาให้ความร้อนครับ
ระยะเวลาจากเริ่มต้มจนเสร็จ แต่ละยี่ห้อจะไม่เท่ากัน ต่างกันที่ตอนหมัก บ่ม นั่นเอง โดย Heineken ตั้งแต่เริ่มจนเสร็จ ใช้เวลาประมาณ 30 วัน Tiger ใช้ 18 วัน ส่วนเชียร์ใช้ 12 วัน (หมักน้อยมาก)
พอเสร็จจากการผลิตก็ไปดูส่วนของการบรรจุครับ มีทั้งหมด 3 ไลน์ คือ ขวด 2 กระป๋อง 1 แต่ตอนนี้ ไลน์ขวดหยุดไป 1 ไลน์ เพราะเครื่องจักรเก่าแล้วไม่คุ้ม ระบบบรรจุนี่จะเป็นสายพานทั้งหมด และอัตโนมัติเกือบ 100 % คือมีพนังงานน้อยมาก เริ่มตั้งแต่ โหลดขวดเข้ามา บรรจุ ปิดฝา ใส่ลัง กระบวนการนี้จะประมาณ 1 ชั่วโมงครับ
โดยกำลังการผลิตขวดใหญ่จะได้ 30,000 ขวด ต่อชั่วโมง ขวดเล็กได้ 40,000 ต่อชั่วโมง
ถ้าเป็นกระป๋อง จะอยู่ที่ 12,000 สำหรับกระป๋องยาว และ 18,000 สำหรับกระป๋องสั้น
ขวดนั้นเป็นการ recycle 70-80 % เพราะต้นทุนแพง แต่ในสายพานนี่ก็จะมีการใช้กล้องถ่ายภาพทุกขวดเพื่อดูว่ามีตำหนิอะไรอย่างนี้หรือเปล่า ถ้ามีก็จะถูกแยกออกมาครับ ส่วนกระป๋องนั้นไม่สามารถ recycle ได้
ดูจนครบก็กลับมาที่อาคารต้อนรับอีกทีครั้ง ได้เวลาที่ทุกคนรอคอยก็คือการชิมเบียร์นั่นเอง
ห้องชิมนี่เหมือนเป็นบาร์เล็กๆครับ ตกแต่งสวยงาม มีดีไซน์ สไตล์ Heineken
บรรยากาศรอบๆห้อง
อีกมุมนึง เจ้าหน้าที่บอกว่าทุกวันศุกร์จะเป็นแฮปปี้ อาว ให้พนักงานมาสังสรรค์กันทีห้องนี้ครับ ทำงานโรงงานเบียร์นี่มันดีจริงๆ หะหะ
เริ่มกันที่ Heineken สด
สามารถขอพนักงานลองกดเองได้นะครับ
ฟองเนียนสวยงาม พอได้ชิมก็ประทับใจมากครับ ความรู้สึกส่วนตัวคือมันเนียนนุ่ม สะอาด ใหม่ ใส และเย็นเจี๊ยบ อุณหภูมิกำลังดี
แก้วที่ 2 ลองเป็น Tiger สดเช่นกัน
สำหรับ Tiger เราว่า มันเข้มกว่า ซ่ากว่า เนื้อเนียนน้อยกว่าครับ
คราวนี้ลอง Heineken แบบขวด เย็นกำลังดี ส่วนตัวรู้สึกว่าซ่ากว่าแบบสด แต่เจ้าหน้าที่บอก ว่าจริงๆแทบจะไม่ต่าง อีกอย่างนึงคือ เค้าบอกว่า ให้รินมีฟองจะได้ชิมรสฟองด้วยครับ
สุดท้ายที่ลองคือ Tiger Crystal LIGHT ขวดนี้เบามาก ใสจนจืด แอลกอฮอล์ประมาณ 4 % ครับ
บรรยากาศบริเวณบาร์
สามารถนั่งข้างนอกได้ด้วยครับ
กราฟฟิกจากงาน Tiger Translate
อีกห้องติดกันเป็นห้องขายของที่ระลึกครับ
เสื้อยืด
หมวก
สมุดโนต
ปกเป็นกราฟิกย้อนยุค
อีกมุมนึง
เสื้อกล้าม Tiger
จักรยาน คันนี้น่าจะโชว์อย่างเดียว
กระเป๋าเดินทาง Heineken
เป็นอันเสร็จเรียบร้อยครับ กับการทัวร์ Thai Asia Pacific Brewery ประทับใจทั้งการที่ได้ชมการผลิตจริงๆ และ ประทับใจรสชาติเบียร์สดๆในโรงงานด้วยเช่นกัน ต้องขอบคุณอาจารย์ ผู้ที่พาเข้าเยี่ยม (ขอสงวนชื่อไว้แล้วกัน) และพนักงาน เจ้าหน้าที่ของ TAPB ไว้ด้วยครับ
หากสนใจเข้าเยี่ยมชมลองติดต่อเข้าไปดูนะครับ เพราะต้องนัดหมายและแจ้งพนักงานล่วงหน้า คิดว่าต้องเข้าเป็นหมู่คณะ ทางโรงงานจึงจะอนุญาตครับ