Craft Beer

Bavaria ทัวร์โรงและจิบเบียร์ที่เมือง Lieshout ประเทศเนเธอร์แลนด์

300 views |

ช่วงบ่ายหลังจากจบการทัวร์ที่โรง La Trappe วัด Koningshoeven เราเดินทางกันต่อไปยังทิศตะวันออกราวๆ 40 กว่ากิโลเมตร ไปยังเมือง Lieshout ซึ่งเราจะมาแวะชมโรงเบียร์ใหญ่ Bavaria นั่นเองครับ

มาถึงด้านหน้าอาคารออฟฟิศก็มีธงชาติไทยอยู่บนเสาเพื่อต้อนรับพวกเราจากเมืองไทยด้วย มาถึงก็มีการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่แนะนำข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะพาคณะของเราไปเยี่ยมชมส่วนการผลิต ซึ่งเราจะต้องข้ามสะพานโลกขนาดใหญ่และยาวไปยังฝั่งที่เป็นโรงการผลิตครับ

ถึงฝั่งการผลิตก็ต้องใส่ชุด หมวก และเปลี่ยนรองเท้าเพื่อให้ได้มาตราฐานความสะอาดและปลอดภัยครับ ตัวโกดังขนาดเบ้อเริ่มเลย เราดูโซนของการแพคเกจจิ้งก่อน  เป็นระบบหุ่นยนต์เกือบทั้งหมด เสร็จก็มายังโซนห้องต้ม หม้อต้มขนาดใหญ่เบ้อเริ่มเช่นกัน

ธงไทยหน้าอาคารออฟฟิศ
ป้ายหน้าออฟฟิศ
โซนบาร์กลางอาคาร
เราจะขึ้นสะพานลอยนี้ไปยังฝั่งโรงผลิตครับ
สะพานลอยเชื่อมสองฝั่ง (รูปจาก Google Street)
ด้านในโรงงานฝ่ายแพคเก็จจิ้ง
เป็นหุ่นยนต์เกือบทั้งหมด
ไลน์กระป๋อง
ไลน์กระป๋อง
เครื่องบรรจุ
เครื่องบรรจุ
ไลน์กระป๋อง
เดินทางต่อไปยังอีกอาคารครับ
บรรยากาศจากชั้นบน
บรรยากาศจากชั้นบน
ภายในห้องต้มครับ หม้อต้มขนาาดมหึมา
ใหญ่มากๆ
ภาพอธิบายที่มาของน้ำที่ใช้ในการผลิต
ป้ายบาวาเรีย
กลับมายังฝั่งออฟฟิศและก็ชิมเบียร์ แก้วแรกเป็น Bavaria
อีกแก้วเป็น Swinckels’ Superior Pilsner

ดูจนครบก็เปลี่ยนชุดแล้วข้ามกับมายังฝั่งออฟฟิศ ซึ่งมีโซ.นบาร์อยู่ตรงกลางอาคาร แล้วก็จิบๆ เบียร์กัน ระหว่างจิบ ทีมงานของ Bavaria ก็เอาของทานเล่นมาให้ทานแกล้มด้วยครับ เป็นพวก ชีส แฮม พาเต้ประมาณนี้ ก่อนที่เราจะเดินทางไปกลับรับประทานอาหารเย็นกันในตัวเมือง  Eidhoven ครับ

ประวัติของโรง Swinkels Family Brewers สามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 1680 ในปีนั้น Dirk Vereijken เป็นเจ้าของโรงเบียร์บนถนน Kerkdijk ในเมือง Lieshout ซึ่งอยู่ห่างจากเมือง Eindhoven ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร

กิจการนี้ถูกส่งต่อจากพ่อสู่ลูกสาว รุ่นสู่รุ่นอย่างยาวนานถึง 3 เจเนอเรชั่น โดยชื่อโรงก็เปลี่ยนไปตามสามีของแต่ละคน นั่นคือ Van Moorsel และ Moorrees ตามลำดับ

จนมาถึงปี 1764 Brigitta Moorrees ก็แต่งงานกับ Ambrosius Swinkels หลังจากนั้นในปี 1773 แม่ของเธอก็เสียชีวิต Brigitta และสามีของเธอก็สืบต่อกิจการนับเป็นจุดเริ่มต้นของชื่อ Swinkels family

เบียรของที่นี่ถูกจำหน่ายแค่เพียงในบริเวณตัวเมือง Lieshout อยู่เป็นร้อยปี จนมาถึงรุ่นที่ 4 ของตระกูลในปี 1890 Jan Swinkels ก็เริ่มส่งเบียร์ไปขายต่างเมือง เริ่มจากเมือง Helmond ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 10 กิโลเมตร ทำให้ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว คือ 988 เฮกโตลิตร เป็น 1,900 ในปี 1900 

หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ขยายการขายไปสู่เมืองอื่นๆ อีก จนยอดการผลิตเพิ่มถึง 3,325 เฮกโตลิตรในปี 1923 จากยอดการผลิตที่เพิ่มสูงทำให้โรงดั้งเดิมไม่เพียงพอ จึงมีการสร้างโรงใหม่ขึ้นในยุคของเจเนอเรชั่นที่ 5 ซึ่งช่วยกันดูแลกิจการ 3 คน และก็เปลี่ยนแบรนด์ใหม่เป็น Bavaria ที่มาของชื่อก็เพราะโรงใหม่นี้ทำการผลิตเบียร์สไตล์ Pale Lager ด้วยวิธีการแบบชาวบาวาเรียนนั่นเอง

ทางโรงค่อยๆ ขยายการขายไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมสี่เมืองใหญ่ของเนเธอร์แลนด์นั่นคือ Amsterdam, Rotterdam, The Hague และ Utrecht รวมถึงเพิ่มไลน์การบรรจุลงขวดในปี 1933 ซึ่งสามารถผลิตได้ถึง 2000 ขวดต่อชั่วโมง

 ช่วงปี 1940 ก่อนสงครามโลกคร้งที่ 2 จะเริ่มขึ้นกำลังการผลิตได้ขึ้นไปถึง 40,000 เฮคโตลิตรต่อปีและส่งขายไปทั่วประเทศ แต่พอเกิดสงครามยอดขายก็ตกลง และต้องใช้เวลาเป็นสิบปีกว่าจะกลับมามียอดขายได้เท่าเดิมในปี 1959

สำหรับระดับสากลนั้นเริ่มมีการส่งออกไปยังประเทศอื่นๆในปี 1973 โดยมียุโรปตอนใต้เป็นจุดหมายแรก ช่วงปลายๆ ของยุค 70 ทาางโรงยังได้ผลิตเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ส่งไปขายที่ประเทศมุสลิมต่างๆ ด้วย ถึงยุค 80 กำลังการผลิตก็ขึ้นไปเป็น 1 ล้านเฮคโตลิตรต่อปี และมีวางจำหน่ายใน 130 ประเทศในยุค 90

1999 ทางโรงก็บรรลุข้อตกลงกับ Koningshoeven และเริ่มดำเนินการในการควบคุมดูแลฝ่ายผลิตเบียร์ Trappist แบรนด์ La Trappe (ที่เราเพิ่งไปมาเมื่อเช้านั่นเอง)

ปี 2016 ทาง Swinkels Family ก็เข้าซื้อกิจการโรง Palm ในประเทศเบลเยี่ยม (ที่ผมมีโอกาสได้ไปเมื่อปี 2018) และล่าสุดในปี 2018 ทางโรงก็เปลี่ยนชื่อจาก Bavaria กลับมาเป็น Swinkels Family อีกครั้งในยุคของเจเนอเรชั่นที่ 7 ของตระกูล

You Might Also Like


แสดงความคิดเห็น



WP Twitter Auto Publish Powered By : XYZScripts.com